เทคนิคเลือกชื่อโดเมน (Domain Name) ให้เหมาะสมกับธุรกิจ (Business) ของคุณมากที่สุด | DATATAN.NET

เทคนิคเลือกชื่อโดเมน (Domain Name) ให้เหมาะสมกับธุรกิจ (Business) ของคุณมากที่สุด

            นับว่าการเลือกชื่อโดเมน (Domain Name) ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณนั้นช่างเป็นอะไรที่ไม่ง่ายเอาซะเลย เพราะชื่อโดเมนที่จะอยู่คู่กับธุรกิจของคุณ จะกลายเป็นชื่อที่ถูกใช้งานไปตลอด และมีความสำคัญมากกว่าคำที่ใช้ค้นหาตามบราวเซอร์ทั่วๆ ไปอีกด้วย คงไม่มีใครเปลี่ยนชื่อโดเมนตัวเองบ่อยๆ หรอกจริงไหม เพราะฉะนั้นการเลือกชื่อโดเมน (Domain Name) จึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการเริ่มต้นธุรกิจเลยก็ว่าได้ เรียกได้ว่าหากเลือกชื่อผิดธุรกิจอาจมีเปลี่ยนทิศกันได้เลย… แล้วการจะเลือกชื่อโดเมนให้เหมาะสมและส่งผลดีต่อธุรกิจมากที่สุดควรจะเป็นแบบไหนนะ ซึ่งทั้งหมดที่จะกล่าวในลำดับต่อไปนี้คือ เทคนิคการเลือกชื่อโดเมนที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีทิศทางมากยิ่งขึ้น

1. “.COM” อีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยม

เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องเลือกชื่อโดเมนของคุณ เราอาจจะเห็นผู้ให้บริการมีหลากหลายนามสกุลลงท้ายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น .COM, .NET, .ORG , .IN.TH , .CO.TH ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงท้ายด้วย .COM ยังเป็นอะไรที่ดูทางการและได้รับความนิยมสูงที่สุดอยู่ดี ดังนั้นการจะใช้ประโยชน์จากชื่อโดเมน (Domain Name) ที่ลงท้ายด้วย “.COM” ก็ยังเป็นสิ่งที่คุ้นเคยต่อคนหมู่มากไม่ว่าในแง่ของการค้นหา หรือการเรียกชื่อนั่นเอง

2. พยายามกว้านซื้อชื่อโดเมนเดียวกันแต่ต่างนามสกุลไว้

อีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีเครือข่ายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากที่คุณจดชื่อโดเมน.COM” เราขอแนะนำให้คุณพยายามจดชื่อโดเมนเดียวกันแต่ต่างนามกุลไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น “.NET”, “.CO.TH”, หรือ “.IN.TH” จากนั้นให้ส่งต่อโดเมนเหล่านี้ไปยังเว็บไซต์หลักที่ใช้ “.COM” ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันให้การค้นหาที่ผิดพลาดของลูกค้าไม่สูญเปล่าไปอย่างน่าเสียดาย 

3. ตั้งชื่อโดเมนให้สั้นเข้าไว้

เป็นอย่างที่ทราบกันดีว่าชื่อโดเมนที่สั้นและกระชับจะจำง่ายกว่าชื่อที่ยาวเหยียดเป็นหางว่าว และถ้าหากมีตัวอักษรให้พิมพ์น้อยลง ก็ยิ่งส่งผลต่อความสะดวกในการค้นหาของลูกค้ามากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน แต่การจะหาชื่อโดเมนแบบคำเดียวแถมยังมีความหมายที่ตรงกับธุรกิจของคุณนั้นมันช่างไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ซึ่งคุณอาจจะลองหาคำอื่นที่มีความเกี่ยวข้องหรือตรงกับชื่อแบรนดของคุณมาผสมดูให้อยู่ในช่วงระหว่าง 2-3 คำ จัดว่าเป็นช่วงคำที่จดจำง่ายกำลังดี บวกกับทุกวันนี้ที่ผู้คนมักจะค้นหาจากจอมือถือซะมากกว่า ดังนั้นการคำนึงถึงความง่ายในการพิมพ์ค้นหาของผู้ใช้งานก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน

4. หลีกเลี่ยงใช้ชื่อย่อ

เพราะการใช้ชื่อย่ออย่างเช่น 4U หรือ 2U จะทำให้ชื่อโดเมนของคุณดูไม่มีความเป็นมืออาชีพแล้ว ยังทำให้มันดูยากต่อการจดจำอีกด้วย ซึ่งถ้าไม่สามารถหาชื่อโดเมนที่มีความกระชับตามที่ต้องการได้ และคุณจำเป็นที่จะต้องใช้ชื่อโดเมนที่ยาวกว่าแต่สื่อตรงถึงแบรนดได้ดีกว่าก็ไม่ต้องเกรงกว่าลูกค้าจะจำไม่ได้ เพราะพวกเขาอาจจะต้องใช้เวลาซักพักในการจดจำชื่อแบรนดของคุณ แต่อย่างไรก็อย่าใช้ชื่อย่อที่ดูไม่เป็นมืออาชีพจะดีที่สุด

5. อย่าตั้งชื่อให้ดูแปลกหรือกำกวม

พยายามหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อโดเมนชนิดที่ว่า เมื่อเขียนรวมกันแล้วกลับกลายเป็นประโยคที่กำกวมดูสื่อความหมายไปคนละทาง และพยายามเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์ในชื่อโดเมน ตัวอย่างชื่อโดเมนที่อาจทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดเกี่ยวกับแบรนดของคุณได้….

  • Pen Island - “www.penisland.in.th” (อ่านแล้วดูเหมือน penis - land)
  • IT Scrap    - “www.itscrap.co.th” (กลายเป็น Its - crap ไปแทน)
  • Experts Exchange - “www.expertsexchange.co.th” (ดูเหมือน expert - sex - change)

จากตัวอย่างข้างต้นก็ทำให้ได้เห็นได้แล้วใช่ไหมว่าการตั้งชื่อโดเมนไม่ให้กำกวมและดูแปลก ถือเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังกันเลยทีเดียว

6. ตั้งชื่อให้ดูมีความเป็นแบรนดและตรงกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ

การตั้งชื่อให้ดูมีความเป็นแบรนดอาจไม่ได้หมายถึงการตั้งชื่อให้ดูหรูหราไฮโซ แต่หมายถึงการตั้งชื่อโดเมนให้สื่อตรงกับสิ่งที่คุณต้องการจะบอกลูกค้า เมื่อกลุ่มลูกค้าเห็นชื่อโดเมนพวกเขาควรจะทราบได้ทันทีว่าเว็บไซต์ของคุณให้บริการ หรือสินค้าเกี่ยวกับอะไร ยกตัวอย่างเช่น “www.booking.com” ไม่ว่าใครเห็นชื่อนี้ต่างก็ต้องคิดไปในทางเดียวกันว่า เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการจองที่พัก ซึ่งคนที่สนใจการให้บริการนี้ก็จะคลิกเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของคุณได้อย่างไม่ลังเลนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าตั้งชื่อโดเมนที่จะทำให้ลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณเกิดความสับสนว่าคุณให้บริการเกี่ยวกับอะไรกันแน่

7. ใช้ชื่อโดเมนที่จำง่าย

เพราะลูกค้าของคุณจะสามารถค้นหาเว็บไซต์ของคุณให้เจอได้ด้วยช่องทางการค้นหาผ่าน Search Engine ต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าการเลือกใช้ชื่อโดเมนที่จดจำง่ายกว่า ย่อมมีผลทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของคุณได้มากกว่า แล้วชื่อที่จำง่ายควรเป็นอย่างไร? ปกติแล้วชื่อโดเมนที่จำง่ายและได้รับความนิยมมักจะมีขนาดที่ไม่ยาวจนเกินไป ไม่มีสัญลักษณ์ ไม่ใช้ตัวเลข และมีความกระชับทั้งความหมายและชื่อ ลองจินตนาการตามดูว่าหากเปรียบชื่อโดเมนเว็บไซต์ต่างๆ ให้กลายเป็นป้ายโฆษณาบิลบอร์ด เกือบ 100% ของแบรนดที่มีการตั้งชื่อให้จดจำง่ายกว่า มักจะได้รับผลตอบรับจากกลุ่มลูกค้าที่มากกว่า

8. ระวังการตั้งชื่อที่อาจมีผลต่อปัญหาลิขสิทธิ์

หลังจากที่คุณตัดสินใจเลือกชื่อโดเมนที่ต้องการแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะตรวจสอบให้ดีก่อนจดทะเบียนโดเมนอย่างจริงจัง นั่นก็คือการใช้ ‘คำ’ ในโดเมนที่อาจไปมีผลกับปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ของชื่อโดเมนนั้น เช่น

  • ชื่อโดเมนนี้ในอดีตเคยสร้างเรื่องเสียหายที่ส่งผลต่อภาพจำในแง่ลบของผู้คนรึเปล่า
  • ชื่อโดเมนของคุณมีคำไหนรึเปล่าที่อาจสื่อได้หลายความหมาย
  • มีคำใดที่เป็นคำพิเศษและมีสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าติดมาด้วยเสมอหรือไม่

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ ถ้าหากคุณทำเว็บไซต์ขายรองเท้า และตั้งชื่อโดเมนโดยมีคำว่า “Nike” ซึ่งเป็นชื่อของแบรนดดังมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอย่างถูกต้อง ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ตามมาในภายหลังได้ และอย่าลืมที่จะลองนำคำที่คุณไม่มั่นใจไปเช็คบนโซเชียลมีเดีย เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่าผู้คนทั่วไปมีปฏิกิริยาอย่างไรกับคำที่คุณต้องการนำมาใช้เป็นชื่อโดเมน

9. ใช้ ‘คีย์เวิร์ด’ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกเหนือจากการตั้งชื่อโดเมนให้จำง่ายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือการใช้คีย์เวิร์ดที่ตรงกับบริการของคุณในการตั้งชื่อโดเมน อันดับแรกคุณอาจจะลองลิสต์ ‘คีย์เวิร์ด’ ที่สอดคล้องกับธุรกิจของคุณให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดเว็บไซต์เกี่ยวกับที่พักอาศัย คุณอาจจะใช้คำว่า “property”  จากนั้นคุณอาจจะนำคำที่สอดคล้องสูงที่สุดมาใช้ในชื่อโดเมน เช่น naraiproperty.com ซึ่งในชื่อแสดงให้เห็นถึงชื่อแบรนด ‘narai’ และบริการของแบรนด ‘property’ อีกทั้งวิธีนี้ยังส่งผลดีต่อเว็บไซต์ของคุณเมื่อ Google จัดอันดับอีกด้วย เพราะชื่อโดเมนมีความสอดคล้องและมีความหมายที่ค่อนข้างเจาะจงชัดเจนอยู่ในตัว ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจของกลุ่มลูกค้า เพราะฉะนั้นแล้วเราจึงอยากแนะนำให้คุณลองค้นหาคำที่ผู้ค้นมักจะใช้ค้นหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ และพยายามนำมันมารวมไว้ในชื่อโดเมน

10. อย่าลืมป้องกันความปลอดภัยให้โดเมนของคุณ

หลังจากที่คุณจดโดเมนแล้ว สิ่งสำคัญที่รองลงมาจากการตั้งชื่อก็คือการรักษาความปลอดภัยในชื่อโดเมนของคุณ เพราะการจดโดเมนแต่ละครั้งคุณอาจต้องให้ข้อมูลอย่าง ชื่อจริง, ที่อยู่, อีเมล์ หรือเบอร์โทรศัพท์ และถ้าหากข้อมูลเหล่านี้รั่วไหลก็อาจจะส่งผลเสียต่อธุรกิจหรือความเป็นส่วนตัวของคุณได้

ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าคุณสามารถปกป้องข้อมูลสำคัญของคุณ ด้วยบริการจาก WHOIS ที่ให้การรับประกันด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสูงสุดด้วยการเก็บข้อมูลของคุณหลังจากลงทะเบียน และแสดงค่าด้วยข้อมูลที่ทีมงานจัดเตรียมไว้ให้  ซึ่งเป็นวิธีที่การันตีได้ว่าจะไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้จดโดเมนได้ พร้อมบริการดูแลตลอด 24 ชม. และคุณก็สามารถลงทะเบียนจดชื่อโดเมนพร้อมบริการความปลอดภัยสูงสุดได้เพียงคลิกเดียวเท่านั้น..!!

Thai